วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

อบรมการทำหญ้าหมักกลุ่ม ธคก.โคเนื้อ ต.ดอยงาม


       เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2557 สำนักงานปศุสัตว์อำเภอพาน ได้ฝึกอบรมเกษตรกรสมาชิกกลุ่มพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อโดยวิธีผสมเทียมตำบลดอยงาม หลักสูตร"การทำหญ้าเนเปียร์ปากข่อง1 หมัก" ณ ที่ทำการกลุ่มฯ ในบริเวณ อบต.ดอยงาม อ.พาน จ.เชียงราย วัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และสามารถถนอมอาหารสัตว์โดยวิธีการทำหญ้าหมักไว้ใช้ในช่วงที่ขาดแคลนหญ้าสด
       ทั้งนี้นายนพดล พินิจ ปศุสัตว์อำเภอพาน กล่าวว่า กลุ่มฯ มีแนวคิดที่จะพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อของสมาชิกโดยเน้นการเลี้ยงแบบประณีตหรือแบบคุณภาพ โดยเฉพาะด้านอาหารสัตว์ ปัจจุบันมีการส่งเสริมให้สมาชิกปลูกหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1  สำหรับเป็นพืชอาหารเลี้ยงโค ซึ่งมีจำนวนรวม 26 ราย ซึ่งกลุ่มฯ ได้รับสนับสนุนแม่โคจากธนาคารโค-กระบือ เพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ จากกรมปศุสัตว์เริ่มต้นจำนวน 26 ตัว มาดำเนินการ ฯ โดยปัจจุบันมีจำนวนโครวม 54 ตัว






วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557

อบรมเกษตรกรรายใหม่กลุ่มธนาคารไก่สายใยรักฯบ้านวังชมภู


    เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2557 สำนักงานปศุสัตว์อำเภอพาน ไดัจัดอบรมเกษตรกรผู้เป็นสมาชิกรายใหม่ จำนวน 18 รายของ"กลุ่มธนาคารไก่สายใยรักฯ บ้านวังชมภู" หมู่ที่ 15 ต.ม่วงคำ อ.พาน จ.เชียงราย  พื้นที่ทรงงานโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในหลักสูตร "กระบวนการกลุ่ม" ณ ศาลาเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้านฯ 
     ซึ่งนายนพดล พินิจ ปศุสัตว์อำเภอพาน กล่าวว่า กระบวนการกลุ่มมีความสำคัญต่อการส่งเสริมอาชีพ ซึ่งจะทำให้เกิดการดำเนินกิจกรรมหรือกระบวนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดการแก้ปัญหา การตัดสินใจ การวางแผน และการพัฒนาร่วมกัน สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรม มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกันในการทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น จึงกำหนดให้มีการอบรมในเรื่องนี้ก่อนที่จะดำเนินกิจกรรมเลี้ยงไก่ ตามที่ได้งบประมาณสนับสนุนจากศูนย์พัฒนาสังคม หน่วยที่ 12 จ.เชียงราย เป็นเงินรวม 36,000 บาท เพื่อจัดซื้อพันธุ์ไก่และปัจจัยการผลิตให้สมาชิก ฯ ดังกล่าวยืมไปเลี้ยง ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขของ "ธนาคารไก่" ของกลุ่มที่กำหนดไว้ ต่อไป



ร่วมประชุมคณะกรรมการกลุ่มธนาคารไก่สายใยรักแห่งครอบครัวบ้านวังชมภู


          เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2557 สำนักงานปศุสัตว์อำเภอพาน    โดยนายนพดล พินิจ ปศุสัตว์อำเภอพาน พร้อมด้วยนายพินิจ หล้าคำ ปศุสัตว์ตำบลม่วงคำ (ลูกจ้างงบจ้างเหมาของ อบต.ม่วงคำ)  ได้ประชุมกับเจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาสังคมหน่วยที่ 12 จ.เชียงราย ร่วมกับคณะกรรมหมู่บ้านและคณะกรรมการกลุ่มผู้เลี้ยงไก่บ้านวังชมภู หมู่ที่ 15 ต.ม่วงคำ อ.พาน จ.เชียงราย เพื่อวางแผนดำเนินการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงไก่ ตามที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกระทรวงพัฒนาสังคมฯ 
     ซึ่งนายนพดล พินิจ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า สนง.ปศุสัตว์อำเภอพานร่วมกับกลุ่มฯ จะได้ดำเนินการตามโครงการส่งเสริมการเลี้ยงไก่ แก่เกษตรกรเป้าหมายตามแผนพัฒนาอาชีพของชุมชนครั้งนี้ 18 ราย ซึ่งได้รับเงินจัดซื้อพันธุ์ไก่และปัจจัยการผลิตรายละ 2,000 บาท รวมเป็นเงิน 36,000 บาท โดยเกษตรกรกลุ่มนี้ถือเป็นสมาชิกรายใหม่ของ "กลุ่มธนาคารไก่สายใยรักฯ บ้านวังชมภู" เดิมที่จัดตั้งอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งถือว่าเป็นพัฒนาและต่อยอดกิจกรรมส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงไก่บ้านวังชมภู พื้นที่ทรงงานโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ให้สามารถมีประสิทธิภาพและผลผลิตเพิ่มมากขึ้น ตามวัตถุประสงค์โครงการ ฯ ต่อไป



วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

อบรมชี้แจงเกษตรกรสมาชิกใหม่โครงการธนาคารโค-กระบือตำบลดอยงาม


      เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2557 สำนักงานปศุสัตว์อำเภอพาน ได้จัดอบรมเกษตรกรโครงการธนาคารโค-กระบือ เพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ (ธคก.) รายใหม่ ที่ได้รับคัดเลือกให้ยืมลูกโคตัวที่ 1 จากแม่โคโครงการธนาคารโค-กระบือฯ ของ "กลุ่มพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อโดยวิธีผสมเทียมตำบลดอยงาม" อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย จำนวน 9 ราย ที่ยืมไปเลี้ยงเพื่อการผลิตลูกตามกฎเกณฑ์ระเบียบของ ธคก. และเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของท่านปศุสัตว์เขต 5 และท่านปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย ที่กำหนดให้นำลูกสัตว์ของ ธคก.ไปขยายผลตามโครงการ ธคก. ต่อไป
      ทั้งนี้ นายนพดล พินิจ ปศุสัตว์อำเภอพาน ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ในสังกัด ชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานโครงการฯ และอบรมให้ความรู้ด้านการเลี้ยงดู, การปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีผสมเทียม และการปลูกพืชอาหารสัตว์ โดยเกษตรกรทั้ง 9 ราย นี้ ถือเป็นสมาชิกใหม่ของ "กลุ่มพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อโดยวิธีผสมเทียมตำบลดอยงาม" ทำให้มีจำนวนเพิ่มเป็น 26 รายในปัจจุบัน  ซึ่งสมาชิกใหม่จะต้องดำเนินกิจกรรมเลี้ยงโค ธคก. ตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ และจะต้องพัฒนารูปแบบการเลี้ยงโคแบบประณีต หรือรูปแบบการจัดการเลี้ยงดูที่มีคุณภาพ ตามที่กลุ่มฯ กำหนดไว้ ต่อไป




วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

ร่วมประชุมวางแผนพัฒนากลุ่มเลี้ยงโค ธคก.ต.ดอยงาม ปี 2558


     เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2557 สำนักงานปศุสัตว์อำเภอพาน โดยนายนพดล พินิจ ปศุสัตว์อำเภอพาน และนายสมเกียรติ จอมแก้ว จพง.สัตวบาล พนักงานงานราชการในสังกัด ได้เข้าร่วมประชุม"กลุ่มพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อโดยวิธีผสมเทียมตำบลดอยงาม"เพื่อร่วมกันวางแผนแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อของกลุ่มฯ ประจำปี 2557-2558 ซึ่งทาง อบต.ดอยงามร่วมกับ สนง.ปศุสัตว์อำเภอพาน จะเร่งผลักดันให้กลุ่มฯ พัฒนาและปรับรูปแบบจากการเลี้ยงแบบธรรมชาติเป็นรูปแบบประณีตที่เน้นให้มีการจัดการเลี้ยงดู โดยเฉพาะการจัดการด้านพืชอาหารหยาบ และการปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีผสมเทียมด้วยน้ำเชื้อคุณภาพของกรมปศุสัตว์ ณ ห้องประชุม อบต.ดอยงาม โดยมีนายวีรศักดิ์ ธรรมปัญโญ นายก อบต.ดอยงาม เป็นประธานที่ประชุม ทั้งนี้ได้มีปลัด อบต,รองปลัด อบต,เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน อบต.ดอยงาม เข้าร่วมประชุมและให้คำแนะนำแก่สมาชิกกลุ่มฯ ด้วย
     นายนพดล พินิจ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า อบต ดอยงาม เห็นชอบที่จะอนุมัติเงิน จำนวน 150,000 บาทให้แก่กลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อฯ ตำบลดอยงาม เพื่อนำไปพัฒนาการเลี้ยงและต่อยอดการเลี้ยงโคแบบประณีตของกลุ่มฯ  ซึ่งมีการดำเนินงานตามโครงการธนาคารโค-กระบือ เพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริของกรมปศุสัตว์ ต่อไป ซึ่งมีผลการดำเนินงานที่มีความก้าวหน้าสามารถขยายจำนวนสมาชิกจาก 17 ราย/จำนวนโค 17 ตัว ในปี 2554 เป็น 26 ราย/จำนวนโครวม 54 ตัว ในปัจจุบัน



วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557

จัดทำสรุปผลงานประเมินปศุสัตว์ตำบลปี 2557


เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2557 ปศุสัตว์ตำบลในสังกัดสำนักงานปศุสัตว์อำเภอพาน ได้ดำเนินการจัดทำสรุปผลงานการปฎิบัติงาน ประจำปี 2557 เพื่อประเมินผลการปฎิบัติงาน ฯ โดยนายนพดล พินิจ กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2557 สนงปศุสัตว์อำเภอพาน ได้รับจัดสรรตำแหน่ง "ปศุสัตว์ตำบล" อัตราจ้างเหมาบริการตรวจป้องกันโรคสัตว์ภายในตำบล จากกรมปศุสัตว์ จำนวน 2 อัตรา ซึ่งได้ประสานความร่วมมือกับ อบต. ส่งปศุสัตว์ตำบลลงปฎิบัติงานในพื้นที่ตำบลเมืองพาน และตำบลป่าหุ่ง ทำหน้าที่ในการบริการด้านปศุสัตว์ของตำบล ตามบทบาทหน้าที่ของปศุสัตว์ตำบล ที่กรมปศุสัตว์กำหนด เช่น สำรวจและขึ้นทะเบียนสัตว์, ฉีดวัคซีนและจัดทำทะเบียนสัตว์,ปฎิบัติงาน ณ ศูนย์กระจายวัคซีนและรับแจ้งการเกิดโรคระบาดสัตว์, ตรวจสอบภาวะโรคระบาดสัตว์,พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรค, ตรวจสอบการเคลื่อนย้ายสัตว์เข้า-ออกพื้นที่, ปรับระบบวิธีการเลี้ยงสัตว์, ตรวจสอบสถานที่เลี้ยงสัตว์, ส่งเสริมการผสมเทียมและปลูกพืชเลี้ยงสัตว์, ติดตามดูแลสัตว์ในโครงการพระราชดำริฯ และดูแล/โครงการอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมายจากกรมปศุสัตว์และ อบต.พื้นที่เป็นต้น โดยมีผลการประเมินการปฏิบัติงานฯ ของปศุสัตว์ตำบลทั้ง 2 ตำบล เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายทุกประการ  นอกจากนี้ อำเภอพานยังได้รับความร่วมมือจากอีก 2 อบต. คือ อบต.ม่วงคำ และ อบต.สันกลาง จัดสรรงบประมาณของ อบต. เอง จัดจ้างปศุสัตว์ตำบลปฏิบัติงานฯ ในพื้นที่ ตามนโยบายของปศุสัตว์อีกด้วย ซึ่งปศุสัตว์ตำบลทั้ง 4 ตำบลนี้ สามารถแก้ไขปัญหาการเกิดโรคระบาดสัตว์ทำได้เร็วขึ้น มีเครือข่ายทำงานที่เข้มแข็ง ขณะที่ปัญหาที่ชาวบ้านพบก็จะถูกสะท้อนให้เจ้าหน้าที่รับทราบอย่างรวดเร็ว และที่สำคัญสามารถเป็นผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ของสำนักงานปศุสัตว์อำเภอ ที่มีจำนวนน้อย โดยปัจจุบันอำเภอพาน มีพื้นที่รับผิดชอบ 15 ตำบล/ 234 หมู่บ้าน มีข้าราชการและพนักงานราชการเพียง 4 คน ไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ เมื่อมีปศุสัตว์ตำบลเป็นผู้ช่วย ก็จะทำงานได้ง่ายและดียิ่งขึ้น เนื่องจากมีผู้ช่วยคอยประสานงานและแบ่งเบาภาระ เป็นต้น










วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557

ประชุมจัดทำโครงการเลี้ยงไก่สายใยรักฯ บ.วังชมภู ปี 58


เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2557 นายนพดล พินิจ ปศุสัตว์อำเภอพาน พร้อมด้วยนายพินิจ หล้าคำ ปศุสัตว์ตำบลม่วงคำอัตราจ้างเหมาของ อบต.ม่วงคำ ได้ร่วมกันประชุมสมาชิกกลุ่มผู้เลี้ยงตามโครงการสายใยรักแห่งครอบครัวบ้านวังชมภู หมู่ที่ 15 ตำบลม่วงคำ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย  พื้นที่ทรงงานโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งร่วมกันจัดทำแผนงานโครงการเสนอขอรับงบประมาณจากศูนย์พัฒนาสังคมหน่วยที่ 12 จังหวัดเชียงราย ณ ศาลาเอนกประสงค์หมู่บ้าน ทั้งนี้ นายนพดล พินิจ กล่าวว่าตามที่กลุ่มฯ ได้ร่วมกันเสนอความต้องการและร่วมจัดทำแผนชุมชน โดยได้รับอนุมัติให้ดำเนินงาน "โครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงไก่"  ในเบื้องต้นจะได้รับงบประมาณดำเนินการจากกระทรวงพัฒนาสังคมฯ แก่สมาชิกกลุ่มฯ ครั้งนี้จำนวน 17 ครัวเรือน ๆ ละ 2,000 บาท รวมเป็นเงิน 34,000 บาท ทั้งนี้ นายนพดล พินิจ กล่าวว่า การส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงไก่ตามแผนชุมชนในครั้งนี้ จะเป็นการต่อยอดกิจกรรม "ธนาคารไก่พื้นเมือง" ของหมู่บ้าน ที่เน้นการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโดยคณะกรรมการกลุ่ม และมีเงื่อนไขการยืม และส่งคืน  เพื่อขยายผลไปสู่สมาชิกรายอื่นและเพื่อความยั่งยืนของอาชีพต่อไป





วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

ประชุคณะกรรมการกลั่นกรองแผนงานโครงการปิดทองหลังพระ ปี 58


เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2557 นายนพดล พินิจ ปศุสัตว์อำเภอพาน ได้เข้าร่วมประชุมพิจารณากลั่นกรองแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ตามโครงการพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่ประยุกต์ตามพระราชดำริ (ปิดทองหลังพระ) พื้นที่บ้านห้วยสัก  หมู่ที่ 5 ตำบลเวียงห้าว พร้อมด้วยนายเกรียงไกร สิทธิขันแก้ว จพง.สัตวบาลชำนาญงาน สนง.ปศุสัตว์อำเภอพาน  คณะทำงานจัดทำแผนพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่ประยุกต์ตามพระราชดำริ (ปิดทองหลังพระ)  ร่วมกับคณะทำงานฯ ทั้ง 2 คณะ ตามคำสั่งอำเภอพาน โดยมีนายสัมฤทธิ์ สวามิภักดิ์ นายอำเภอพาน เป็นประธาน ณ ห้องประชุมอำเภอพาน ชั้น 2 ทั้งนี้นายนพดล  พินิจ กล่าวว่า ในมิติเกษตรของแผน ฯ ประจำปี 2558 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบบรรจุ "โครงการลดอัตราการตายของไก่พื้นเมือง" เป็นเงิน 113,515 บาท ตามที่พื้นที่เสนอความต้องการและสำนักงานปศุสัตว์อำเภอพานเสนอ ซึ่งอำเภอพาน จักได้รวบรวมเสนอคณะกรรมการฯ ในระดับจังหวัดฯ พิจารณาก่อนเสนอของบประมาณตามลำดับขั้นตอนของโครงการปิดทองหลังพระ ต่อไป



วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2557

ร่วมประขุมชี้แจงแผนพัฒนาอาชีพโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว (บ้านวังชมภู)


เมื่อวันเสาร์ ที่ 13 กันยายน 2557 นายนพดล พินิจ ปศุสัตว์อำเภอพาน ได้เข้าร่วมประชุมราษฎรบ้านวังชมภู หมู่ที่ 15 ตำบลม่วงคำ พื้นที่ทรงงานโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ร่วมกับคณะเจ้าหน้าที่กระทรวงพัฒนาสังคมฯ และศูนย์พัฒนาสังคมหน่วยที่ 12 จ.เชียงราย เพื่อชี้แจงขั้นตอนการดำเนินงานตามแผนชุมชนของหมู่บ้านที่ได้รับสนับสนุนงบประมาณดำเนินการแก่กลุ่มอาชีพต่าง ๆ ตามที่ได้จัดทำขึ้น โดยมีนายปกรณ์ พันธุ ที่ปรึกษาโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว, ที่ปรึกษาอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เป็นประธาน โดยด้านปศุสัตว์ ได้รับอนุมัติให้ดำเนินงาน "โครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงไก่" ตามที่กลุ่มฯ เสนอความต้องการ ในเบื้องต้นจะได้รับงบประมาณดำเนินการจากกระทรวงพัฒนาสังคมฯ แก่สมาชิกกลุ่มฯ จำนวน 12 ครัวเรือน ๆ ละ 2,000 บาท รวมเป็นเงิน 24,000 บาท ทั้งนี้ นายนพดล พินิจ กล่าวว่า การส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงไก่ตามแผนชุมชนในครั้งนี้ จะเป็นการต่อยอดกิจกรรม "ธนาคารไก่พื้นเมือง" ของหมู่บ้าน ที่เน้นการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโดยคณะกรรมการกลุ่ม และมีเงื่อนไขการยืม และส่งคืน  เพื่อขยายผลไปสู่สมาชิกรายอื่นและเพื่อความยั่งยืนของอาชีพต่อไป ซึ่งจะรีบดำเนินการแผนพัฒนาอาชีพนี้ให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2557 นี้ ต่อไป




วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2557

ร่วมประชุมพิจารณาการตั้งโรงฆ่าสัตว์ปีก บ.พานทองฟู้ดส์ จำกัด



เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2557 นายนพดล พินิจ ปศุสัตว์อำเภอพาน ได้เข้าประชุมคณะกรรมการพิจารณาการตั้งโรงฆ่าสัตว์ (สัตว์ปีก) ของนายพงษ์ศักดิ์ เบญจพลาภรณ์ ผู้ประกอบการฯ ณ ห้องประชุม อบต.เมืองพาน และตรวจสถานที่ก่อสร้างฯ ณ บริษัท พานทองฟู้ดส์ จำกัด หมู่ที่ 4 ตำบลเมืองพาน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ทั้งนี้ ตามที่ได้รับแต่งตั้งจากจังหวัดเชียงราย ร่วมกับท่านนายอำเภอพาน, จ่าจังหวัดเชียงราย, ผู้แทนโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดฯ, ผู้แทนนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดฯ, ผู้แทน อุตสาหกรรมจังหวัดฯ, ผู้แทนผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดฯ, นายก อบต.เมืองพาน ,หัวหน้ากลุ่มพัฒนาคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ สนง.ปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย  และเจ้าหน้าที่ๆ เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานเกิดการบูรณาการครอบคุมทุกหน่วยงาน, เพื่อปรับปรุงพัฒนามาตรฐานโรงฆ่าสัตว์ในการผลิตเนื้อสัตว์ที่ถูกสุขอนามัย ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และเพื่อให้คำปรึกษา คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการในการปฏิบัติงานตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตั้งโรงฆ่าสัตว์ โรงพักสัตว์ แลการฆ่าสัตว์ พ.ศ.2555 





วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

สำรวจข้อมูลเพื่อพัฒนาและยกระดับOTOP กลุ่มแปรรูปเนื้อสัตว์บ้านเหมืองหลวง



เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2557 นายนพดล พินิจ ปศุสัตว์อำเภอพาน ได้ร่วมกับกลุ่มวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ โดยนายสมพิศ ชูแสงจันทร์ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ และกลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีการปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์เชียงราย โดยนางปาณีสรา จิตนิยม หัวหน้ากลุ่มฯ และคณะ เข้าตรวจเยี่ยมและสำรวจข้อมูลผลการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปอาหารบ้านเหมืองหลวง หมู่ที่ 9 ตำบลป่าหุ่ง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและยกระดับคุณภาพสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ประเภทอาหารและเครื่องดื่ม  ภายใต้โครงการพัฒนาสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ที่คณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ (กอ.นตผ.) ได้มีมติเห็นชอบการจัดสรรงบประมาณเพื่อขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ตามที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอผ่านคณะอนุกรรมการใน กอ.นตผ. แล้ว โดยมีนายเสน่ห์ ไชยลังกา รองนายก  อบต.ป่าหุ่ง กล่าวต้อนรับ และมีนางณัฐรัตน์  คำมูล ประธานกลุ่มฯ ร่วมกับสมาชิกเป็นผู้ให้ข้อมูล ทั้งนี้ นายนพดล พินิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า กลุ่มฯ นี้ มีสมาชิกเป็นแม่บ้านเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ที่กรมปศุสัตว์ให้การส่งเสริมการประกอบอาชีพอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ตามหลักเกณฑ์ที่ดีในการผลิตอาหารว่าด้วยสุขลักษณะทั่วไป (GMP) ที่มีการลงทุนต่ำ สามารถผลิตและจำหน่ายให้เกิดรายได้อย่างยั่งยืน ต่อไป




วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

ตรวจเยี่ยมและเจาะเก็บเลือดส่งตรวจประเมินสถานโรคPRRS



เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2557 สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย และ สำนักงานปศุสัตว์อำเภอพาน ได้ร่วมกันออกตรวจเยี่ยม "กลุ่มเกษตรกรปรับระบบการเลี้ยงสุกรเพื่อการป้องกันโรคตำบลสันกลาง" และเจาะเก็บตัวอย่างเลือดสุกรพ่อ- แม่พันธุ์ของสมาชิกกลุ่มฯ จำนวน 10 ราย รวม 30 ตัวอย่าง เพื่อส่งตรวจประเมินสถานะโรค PRRS ของกลุ่ม ฯ ตาม "โครงการปรับระบบการเลี้ยงสุกร เพื่อการป้องกันโรคและการประเมินสถานะโรค PRRS ในสุกรของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยประจำจังหวัด" ของกรมปศุสัตว์ ประจำปี 2557 โดยนายนพดล พินิจ ปศุสัตว์อำเภอพาน กล่าวว่า ได้ร่วมกับ อบต.สันกลาง ดำเนินโครงการฯนี้ตั้งแต่ปี 2556 วัตถุประสงค์เพื่อเป็นการควบคุม ป้องกันการเกิดโรคระบาดในสุกร โดยมุ่งเน้นให้เกษตรตรรายย่อยเพิ่มศักยภาพ ยกระดับ พัฒนาการผลิตสุกร, แก้ไขปัญหาความสูญเสียที่เกิดจากโรคระบาดและเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร ในการเข้าสู่กลุ่มประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558 สามารถรองรับการแข่งขันทางการค้ากับประเทศอื่นโดยเฉพาะประเทศในกลุ่มสมาชิกประชาคมอาเซียน ต่อไป