วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Smart Farmer อ.พาน ศึกษาดูงานฟาร์มมาตรฐานโคนม


เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2557 นายนพดล พินิจ ปศุสัตว์อำเภอพาน ได้นำเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ที่เข้ารับการฝึกอบรม "โครงการพัฒนาเกษตรกรสู่เกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)" รุ่นที่ 2  ของอำเภอฯ จำนวน 26 ราย ไปทัศนศึกษาดูงานฟาร์มโคนมของนายวิเดช ราชคม สมาชิกสหกรณ์โคนมเชียงราย จำกัด หมู่ที่ 1 ต.แม่เย็น อ.พาน จ.เชียงราย ซึ่งได้ผ่านการรับรองเป็นฟาร์มมาตรฐานโคนมของกรมปศุสัตว์  ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามหลักสูตรการอบรมที่กำหนด โดยมุ่งให้เกษตรกรฯ ได้ศึกษารูปแบบการจัดการฟาร์มโคนมมาตรฐานที่ถูกต้องตามหลักวิชาการและหลักเกณฑ์การประเมินฟาร์มมาตรฐาน ไปพัฒนาและปรับปรุงฟาร์มของตนเอง ต่อไป










Smart Farmer ศึกษาดูงานการจัดการอาหารโคนม


เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2557 นายนพดล พินิจ ปศุสัตว์อำเภอพาน ได้นำเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ที่เข้ารับการฝึกอบรม "โครงการพัฒนาเกษตรกรสู่เกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)" รุ่นที่ 2  ของอำเภอฯ จำนวน 26 ราย ไปทัศนศึกษาดูงานการจัดการอาหารสัตว์ ณ สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์พะเยา โดยมีนายชยุต ดงปาลีธรรม หัวหน้าสถานีฯ และเจ้าหน้าที่ในสังกัดบรรยายและพาดูงานพืชอาหารสัตว์นอกจากนั้นยังได้นำเกษตรฯ ดังกล่าว เข้าฟังการบรรยายและดูการสาธิตการทำอาหารหมัก (Silage) และโปรตีนก้อน (Protein Block) จากวัสดุท้องถิ่นเพื่อเป็นอาหารโค จาก รศ.ดร. โชค โสรัจกุล (มิเกล็ด) สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามหลักสูตรการอบรมที่กำหนด โดยมุ่งให้เกษตรกรฯ ได้ศึกษาและนำเทคโนโลยีการจัดการอาหารสัตว์ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการจากการทัศนศึกษาดูงานไปพัฒนาและใช้ในการเลี้ยงสัตว์ของตนเอง ต่อไป








ฝึกอบรมSmart Farmer รุ่นที่ 2


วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2557 สำนักงานปศุสัตว์อำเภอพานร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย ได้ฝึกอบรมเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม, สุกรและไก่ไข่ ที่ได้คัดเลือกให้เข้าร่วม "โครงการพัฒนาเกษตรกรสู่เกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)" รุ่นที่ 2 ของอำเภอฯ จำนวน 40 ราย ณ ห้องประชุมที่ทำการกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านอำเภอพาน โดยมีนายสัมฤทธิ์ สวามิภักดิ์ นายอำเภอพาน เป็นประธานเปิดและให้โอวาทแก่ผู้เข้ารับการอบรม ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรมีความพร้อม, มีความรู้เชี่ยวชาญในการประกอบอาชีพการเลี้ยงสัตว์, ให้ความสำคัญในการใช้องค์ความรู้ ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ การนำเทคโนโลยี ภูมิปัญญา และวิธีการปฏิบัติที่ดีมาใช้หรือพัฒนา โดยตระหนักถึงคุณภาพมาตรฐานและปริมาณความต้องการของตลาด มีความปลอดภัยของผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ และเพื่อให้ตอบสนองการขับเคลื่อนนโยบายเกษตรกรปราดเปรื่องของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต่อไป